วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่มากมาย อย่างเช่นพระปางค์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณวัดอรุณราชวราราม ก็เป็นสถานที่สำคัญและสวยงามแห่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีอยากทราบไหมว่าสถานที่แห่งนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ลองอ่านเรื่องราวกันต่อไปล่ะ
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เดิมมีชื่อว่า “ วัดมะกอก ” ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีได้เปลี่ยนมาเรียกว่า “ วัดแจ้ง ” วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากวัดเล้ก ๆ จนเป็นวัดขนาดใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของพระบรมมหาราชวังในสมัยนั้น จึงยกเลิกไม่ให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด วัดแจ้งจึงอยู่นอกพระราชวัง และทรงอนุญาตให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเหมือนเดิมจนถึงปัจจุบันนี้ทราบประวัติความเป็นมาของวัดแล้ว มาดูกันต่อว่าทีสิ่งสำคัญอะไรอยู่ภายในวัดนี้บ้าง
พระอุโบสถหรือโบสถ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญและสวยงามมากแห่งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระประธานในพระอุโบสถมีพระนามว่า พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อในสมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงปั้นพระพักตร์ของพระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง บริเวณใต้ฐานชุกชีของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วย
เราจึงถือว่าวัดนี้ เป็นวัดประจำของรัชกาลที่ ๒ รอบ ๆโบสถ์มีระเบียงล้อมอยู่ มีประตูเข้า-ออกอยู่ตรงกึ่งกลางของทั้ง ๔ ทิศ ด้านหน้าของระเบียงโดยรอบมีตุ๊กตาหินรูปทหารจีนตั้งเรียงรายอยู่เป็นแถวถึง ๑๔๔ ตัว ประตูด้านหน้าที่จะเข้าไปในโบสถ์เป็นประตูซุ้มยอกมงกุฎ ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นปรตูจตุรมุข บริเวณด้านหน้าของประตูนี้มียักษ์ยืนอยู่ ๒ ตัวเป็นยักษ์แบบไทยสูงประมาณ ๖ เมตร ยักษ์สีขาวมีชื่อว่า สหัสเดชะ ส่วนยักษ์สีเขียว คือ ทศกัณฐ์ ยักษ์สองตัวนี้ปั้นด้วยปูนประดับกระเบื้องเคลือบสี สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งก็คือ พระวิหาร ซึ่งมีลักษณะของสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับโบสถ์ พระประธานในวัดวิหาร คือ พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร
เห็นว่าใช่ไหมว่าวัดอรุณ ฯ มีสิ่งสำคัญและสวยงามอยู่มากมายจริง ๆ แล้วอย่างนี้จะไม่ลองล่องเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วแวะชมความงามของวัดอรุณฯกันบ้างหรือ
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เดิมมีชื่อว่า “ วัดมะกอก ” ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีได้เปลี่ยนมาเรียกว่า “ วัดแจ้ง ” วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากวัดเล้ก ๆ จนเป็นวัดขนาดใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของพระบรมมหาราชวังในสมัยนั้น จึงยกเลิกไม่ให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด วัดแจ้งจึงอยู่นอกพระราชวัง และทรงอนุญาตให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเหมือนเดิมจนถึงปัจจุบันนี้ทราบประวัติความเป็นมาของวัดแล้ว มาดูกันต่อว่าทีสิ่งสำคัญอะไรอยู่ภายในวัดนี้บ้าง
พระอุโบสถหรือโบสถ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญและสวยงามมากแห่งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระประธานในพระอุโบสถมีพระนามว่า พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อในสมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงปั้นพระพักตร์ของพระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง บริเวณใต้ฐานชุกชีของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วย
เราจึงถือว่าวัดนี้ เป็นวัดประจำของรัชกาลที่ ๒ รอบ ๆโบสถ์มีระเบียงล้อมอยู่ มีประตูเข้า-ออกอยู่ตรงกึ่งกลางของทั้ง ๔ ทิศ ด้านหน้าของระเบียงโดยรอบมีตุ๊กตาหินรูปทหารจีนตั้งเรียงรายอยู่เป็นแถวถึง ๑๔๔ ตัว ประตูด้านหน้าที่จะเข้าไปในโบสถ์เป็นประตูซุ้มยอกมงกุฎ ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นปรตูจตุรมุข บริเวณด้านหน้าของประตูนี้มียักษ์ยืนอยู่ ๒ ตัวเป็นยักษ์แบบไทยสูงประมาณ ๖ เมตร ยักษ์สีขาวมีชื่อว่า สหัสเดชะ ส่วนยักษ์สีเขียว คือ ทศกัณฐ์ ยักษ์สองตัวนี้ปั้นด้วยปูนประดับกระเบื้องเคลือบสี สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งก็คือ พระวิหาร ซึ่งมีลักษณะของสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับโบสถ์ พระประธานในวัดวิหาร คือ พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร
เห็นว่าใช่ไหมว่าวัดอรุณ ฯ มีสิ่งสำคัญและสวยงามอยู่มากมายจริง ๆ แล้วอย่างนี้จะไม่ลองล่องเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วแวะชมความงามของวัดอรุณฯกันบ้างหรือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น