นับจำนวนผู้เข้าชม(counter

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ๕



วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ๕


ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับคําเชิญจากรัฐบาลอินเดีย เพื่อให้มาสร้างวัดถวายเป็นพุทธบูชา ณ สถานที่สําคัญในทางพระพุทธศาสนา ประเทศไทยเป็นชาติแรกที่ตอบรับคําเชิญ และได้ดําเนินการจัดสร้างวัดไทยพุทธคยาขึ้น ณ บริเวณโพธิมณฑล สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมืองคยา รัฐพิหาร นับว่าการจัดสร้างศาสนสถานแห่งนั้นเป็นการเชิดชู พร้อมกับเป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในดินแดนมาตุภูมิและเป็นการประกาศให้ชาวโลกได้รับทราบในฐานะที่ ประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจําชาติ
ต่อมาพุทธบริษัทชาวไทยได้เห็นแบบอย่างที ดีงามดังกล่าว และเกิดศรัทธาสร้างวัดไทยตามขึ้นมาอีกหลายแห่งเช่น วัดไทยนาลันทา วัดไทยสารนาถ วัดไทยสาวัดถี ซึ่งแต่ละวัดนั้นล้วนตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่สําคัญทางพระพุทธศาสนา นับว่าเกิดประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยทีจาริกไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง ได้มีที่อาศัยพักพิงปฏิบัติศาสนกิจอย่างอบอุ่นและปลอดภัย
เมื่อปลายปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ ได้มีพุทธบริษัทแห่งประเทศไทย ชาวคณะเทพธรรมตามรอยพุทธองค์ โดยการนําของ คุณจุมพล โพธิ์ศรีวิสุทธิกุล พร้อมด้วยชาวพุทธอินเดียผู้ศรัทธา ได้สืบทอดเจตนารมณ์ ของท่านเจ้าพระคุณพระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตตสุทธิมหาเถร) ทีได้วางแนวทางและบุกเบิกการฟื้นฟูพระพุทธศาสนากลับคืนถิ่นมาตุภูมิ ตั้งแต่สมัยปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในประเทศอินเดีย ประสงค์ทีจะจัดสร้างศาสนสถานวัดไทย ขึ้นทีบริเวณเมืองกุสินารา สถานทีเสด็จดับขันธปรินิพพาน อันนับได้ว่าเป็นสังเวชนียสถานทีสําคัญแห่งสุดท้ายของพระพุทธองค์
จึงได้ริเริ่มการก่อสร้าง โดยโครงการก่อสร้างนี้ได้รับการสนับสนุนจากวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร สถานทูตไทย ณ กรุงนิว เดลี และสถานกงสุลใหญ่ไทย เมืองกัลกัตตา โดยท่านเจ้าพระคุณพระสุเมธาธิบดี ได้มอบหมายให้ ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ) ดำเนินการติดต่อขอซื้อที่ดินบริเวณจุดศูนย์กลางระหว่างสาลวโนทยาน สถานที่ปรินิพพาน และสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธองค์ ได้เนื้อที่ทําการก่อสร้างทั้งสิ้น จํานวน ๑๔ ไร่ ๒ งาน ๘๐ ตารางวา เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ และเริ่มดําเนินการก่อสร้างตังแต่บัดนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น